อดีตนายกฯ"สมชาย"มั่นใจ"ทักษิณ"เห็นด้วย ย้ำอยากให้เกิดกระบวนการปรองดอง เพราะไม่มีใครอยากเห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นในบ้านเมือง
วันนี้ (10พ.ค.) รพ.จุฬาฯ- นายสมชาย วงสวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่เหตุการณ์ค่ำคืนวันที่ 7 พ.ค. ที่มีคนร้ายใช้อาวุธสงครามยิ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และเหตุการณ์เกิดขึ้นระหว่างการผลักดันแผนปรองดอง จึงขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งดำเนินการหาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษโดยเร็ว เพราะจะทำให้ทั้งรัฐบาลและ กลุ่ม นปช. หายแคลงใจกัน เป็นผลดีของทั้งสองฝ่าย
ทั้งนี้ ขอฝากถึงรัฐบาลว่าจะต้องมีความเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมืองควรจัดการดูแลปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ผลักภาระฝ่ายอื่น และขอให้ฝ่ายต่างๆ ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ไม่ควรใช้อำนาจข่มขู่ซึ่งกันและกัน รวมถึงควรเสียสละเพื่อบ้านเมือง ขณะนี้แนวโน้มของสถานการณ์กำลังจะดีขึ้น แต่กลับบุคคลผู้ไม่หวังดีไม่ควรฉวยโอกาสในการสร้างสถานการณ์
ผู้สื่อข่าวถามว่าได้หารือกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ถึงแผนปรองดองของรัฐบาลหรือยัง นายสมชาย ตอบว่า ส่วนตัวเห็นด้วย และเชื่อว่าพ.ต.ท.ทักษิณก็เห็นด้วยและอยากให้เกิดกระบวนการปรองดองขึ้น เพราะไม่มีใครอยากเห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นในบ้านเมือง
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 10 พ.ค. 2553
วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ไอซีทีจับมือ5 หน่วยงานวางแนวกำกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาผ่านอินเทอร์เน็ต
นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยว่า ปัจจุบันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงได้เห็นชอบให้กำหนดยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญา และแผนเร่งรัดการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาตามที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมอบหมายให้กระทรวงไอซีทีรับผิดชอบในการเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และรายงานความคืบหน้าให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาทราบ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานกำกับดูแลและเฝ้าระวังการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขึ้น โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงไอซีที กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย ร่วมเป็นคณะทำงาน และมีนายอาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธาน
ป้ายกำกับ:
กระทรวงไอซีที,
ละเมิดลิขสิทธิ์,
สือ ล้ออุทัย,
อินเทอร์เน็ต
แนะรัฐหันปลูกจิตสำนึกคน แก้ปัญหาบนเน็ต -- ไทยรัฐ
ปธ.ชมรมฯ เว็บโฮสติ้ง ระบุลงทุนหลายร้อยล้านบาทเพื่อซื้อเทคโนโลยีไม่ใช่คำตอบ ทั้งการสนิฟเฟอร์ การจับเว็บไซต์ลามก หรือ การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา...
นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวกรณี ภาครัฐมีแนวคิดที่จะดำเนินการดักจับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือ สนิฟเฟอร์ ว่า เรื่องนี้ทำให้คนในอินเทอร์เน็ต และผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์มีความความตื่นกลัว แต่หากมองในทางเทคนิค การสนิฟเฟอร์ เป็นการดักดูแพ็กเกตข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการเอาข้อมูลมาหั่นเป็นส่วนๆ โดยส่วนที่เป็นข้อมูลที่เก็บกัน คือ หัวท้าย เมื่อถึงปลายทางข้อมูลจะมามารวมกัน หากไม่ต้องการให้คนล่วงรู้ว่าข้อมูลที่ส่งมา คือ อะไร ทำได้ด้วยการเข้ารหัส SSL ที่จะทำให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตช้าลง เพราะจะมีขั้นตอนการเข้า-ถอดรหัสข้อมูล
ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตามมานั่นคือ ความเร็วของอินเทอร์เน็ตจะลดลง และ เมื่อมีการจะดักจับข้อมูลคนที่กลัว หรือ ปอดแหก ก็จะหนีไปเข้ารหัสข้อมูล หากทำกันมากๆ อินเทอร์เน็ตในประเทศจะช้าลงกว่าเดิม เรื่องนี้จึงเป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามการสนิฟเฟอร์สามารถทำได้ในระดับผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้งานด้านการซ่อมบำรุง และแก้ปัญหา แต่สิ่งที่ภาครัฐจะทำนั้น คือ การสนิฟเฟอร์ระดับอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ที่คนทั่วไปจะไม่รู้ว่า ดักจับข้อมูลของใคร แล้วข้อมูลต่างๆที่เก็บไป การดูแลรักษาจะปลอดภัยแค่ไหน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบไอทีภาครัฐอ่อนแอมาก
นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวกรณี ภาครัฐมีแนวคิดที่จะดำเนินการดักจับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือ สนิฟเฟอร์ ว่า เรื่องนี้ทำให้คนในอินเทอร์เน็ต และผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์มีความความตื่นกลัว แต่หากมองในทางเทคนิค การสนิฟเฟอร์ เป็นการดักดูแพ็กเกตข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยการเอาข้อมูลมาหั่นเป็นส่วนๆ โดยส่วนที่เป็นข้อมูลที่เก็บกัน คือ หัวท้าย เมื่อถึงปลายทางข้อมูลจะมามารวมกัน หากไม่ต้องการให้คนล่วงรู้ว่าข้อมูลที่ส่งมา คือ อะไร ทำได้ด้วยการเข้ารหัส SSL ที่จะทำให้ความเร็วของอินเทอร์เน็ตช้าลง เพราะจะมีขั้นตอนการเข้า-ถอดรหัสข้อมูล
ประธานชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง กล่าวต่อว่า สิ่งที่ตามมานั่นคือ ความเร็วของอินเทอร์เน็ตจะลดลง และ เมื่อมีการจะดักจับข้อมูลคนที่กลัว หรือ ปอดแหก ก็จะหนีไปเข้ารหัสข้อมูล หากทำกันมากๆ อินเทอร์เน็ตในประเทศจะช้าลงกว่าเดิม เรื่องนี้จึงเป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็น อย่างไรก็ตามการสนิฟเฟอร์สามารถทำได้ในระดับผู้ดูแลระบบไอทีขององค์กรต่างๆ เพื่อใช้งานด้านการซ่อมบำรุง และแก้ปัญหา แต่สิ่งที่ภาครัฐจะทำนั้น คือ การสนิฟเฟอร์ระดับอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ที่คนทั่วไปจะไม่รู้ว่า ดักจับข้อมูลของใคร แล้วข้อมูลต่างๆที่เก็บไป การดูแลรักษาจะปลอดภัยแค่ไหน เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบไอทีภาครัฐอ่อนแอมาก
ป้ายกำกับ:
ชมรมผู้ประกอบการเว็บโฮสติ้ง,
ดักฟัง,
อินเทอร์เน็ต
ศาลออสเตรเลีย: ISP ไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดของผู้ใช้
ศาลของออสเตรเลียตัดสินว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบกับการที่ผู้ใช้บริการดาวน์โหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์
ในคดีนี้ iiNet ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่เป็นอันดับสามของออสเตรเลีย มีเหตุต้องขึ้นศาล เมื่อกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ 34 ราย ซึ่งรวมถึงสาขาในออสเตรเลียของ Universal Pictures, Warner Bros. และ 20th Century Fox ฟ้องว่า iiNet มีความผิด เนื่องจากไม่ยับยั้งการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผิดกฎหมาย
กลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ต้องการให้ iiNet เตือนผู้ใช้ที่กระทำความผิด และระงับการให้บริการ นอกจากนี้ยังต้องการให้บล็อคบางเว็บไซต์ด้วย แต่ผู้พิพากษาตัดสินว่า iiNet ไม่ต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมออนไลน์ของลูกค้า
ผู้พิพากษา Dennis Cowdroy กล่าวว่า ลำพังการให้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังไม่ใช่ช่องทางการละเมิดลิขสิทธิ์ และหาก ISP จะต้องมารับผิดชอบกับการกระทำของลูกค้า ISP ก็จะกลายเป็นช่องทางง่ายๆ สำหรับใครที่จะฟ้องร้องอะไรก็ตาม
ในคดีนี้ iiNet ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่เป็นอันดับสามของออสเตรเลีย มีเหตุต้องขึ้นศาล เมื่อกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ 34 ราย ซึ่งรวมถึงสาขาในออสเตรเลียของ Universal Pictures, Warner Bros. และ 20th Century Fox ฟ้องว่า iiNet มีความผิด เนื่องจากไม่ยับยั้งการดาวน์โหลดภาพยนตร์ผิดกฎหมาย
กลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ต้องการให้ iiNet เตือนผู้ใช้ที่กระทำความผิด และระงับการให้บริการ นอกจากนี้ยังต้องการให้บล็อคบางเว็บไซต์ด้วย แต่ผู้พิพากษาตัดสินว่า iiNet ไม่ต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมออนไลน์ของลูกค้า
ผู้พิพากษา Dennis Cowdroy กล่าวว่า ลำพังการให้บริการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตยังไม่ใช่ช่องทางการละเมิดลิขสิทธิ์ และหาก ISP จะต้องมารับผิดชอบกับการกระทำของลูกค้า ISP ก็จะกลายเป็นช่องทางง่ายๆ สำหรับใครที่จะฟ้องร้องอะไรก็ตาม
ป้ายกำกับ:
ละเมิดลิขสิทธิ์,
ออสเตรเลีย,
อินเทอร์เน็ต,
ISP
ไอซีทีปิดเว็บแล้วกว่า 50,000 เว็บไซต์ -- ฐานเศรษฐกิจ
ผู้ตรวจราชการไอซีทีเผยเว็บที่ปิดส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ รองลงมาคือเว็บที่เกี่ยวกับการพนันและการหมุนเวียนเงินตราระหว่างประเทศ ตามมาด้วยเว็บที่มีเนื้อหาลามกอนาจาร
เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจรายงาน พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวงไอซีทีได้ปิดเว็บไซต์ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ไปแล้วกว่า 50,000 เว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่พบมากที่สุด เป็นเว็บเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ รองลงมาเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องในเชิงเศรษฐกิจ เช่น เว็บการพนันออนไลน์ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวน มาก เนื่องจากฐานของเว็บไซต์พนันออนไลน์จะตั้งอยู่ต่างประเทศ และสุดท้ายเว็บไซต์ที่กระทบสังคมและวัฒนธรรม เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับลามกอนาจารซึ่งส่งผลกระทบต่อเยาวชนโดยตรง ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทางกระทรวงมีหน่วยงานที่ดูแลและรับผิดชอบเรื่องเว็บไซ ต์คือ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต หรือ ISOC แต่ทั้งนี้ ศูนย์ ISOC ในขณะนี้ก็ยังมีอำนาจ ขอบเขตและประสิทธิภาพการทำงานที่ยังมีข้อจำกัดในหลายเรื่อง อาทิ ด้านเทคนิคและความสามารถในการเฝ้าระวังและกลั่นกรองเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่ เหมาะสมยังเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาแนวทางรับมือกับภัยไอซีที เพื่อมาทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในด้านการกลั่นกรองเว็บไซต์ เพิ่มศักยภาพบุคคลากรของศูนย์ ISOC จัดทำแผนรับมืออาชญากรรมคอมพิวเตอร์และระบบรักษาความมั่นคงต่อประเทศ ทั้งแบบระยะสั้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์บ้านเมืองหรือแผนระยะยาวเพื่อการ จัดการปัญหาทางอินเทอร์เน็ตที่ได้ผลจริง
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, 7 พ.ค. 2553
เว็บไซต์ฐานเศรษฐกิจรายงาน พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวงไอซีทีได้ปิดเว็บไซต์ที่กระทำผิดพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ ไปแล้วกว่า 50,000 เว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่พบมากที่สุด เป็นเว็บเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ รองลงมาเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องในเชิงเศรษฐกิจ เช่น เว็บการพนันออนไลน์ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวน มาก เนื่องจากฐานของเว็บไซต์พนันออนไลน์จะตั้งอยู่ต่างประเทศ และสุดท้ายเว็บไซต์ที่กระทบสังคมและวัฒนธรรม เช่น เนื้อหาเกี่ยวกับลามกอนาจารซึ่งส่งผลกระทบต่อเยาวชนโดยตรง ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวทางกระทรวงมีหน่วยงานที่ดูแลและรับผิดชอบเรื่องเว็บไซ ต์คือ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต หรือ ISOC แต่ทั้งนี้ ศูนย์ ISOC ในขณะนี้ก็ยังมีอำนาจ ขอบเขตและประสิทธิภาพการทำงานที่ยังมีข้อจำกัดในหลายเรื่อง อาทิ ด้านเทคนิคและความสามารถในการเฝ้าระวังและกลั่นกรองเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่ เหมาะสมยังเป็นมาตรฐานขั้นต่ำ จึงจำเป็นต้องจัดตั้งโครงการจัดจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและพัฒนาแนวทางรับมือกับภัยไอซีที เพื่อมาทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในด้านการกลั่นกรองเว็บไซต์ เพิ่มศักยภาพบุคคลากรของศูนย์ ISOC จัดทำแผนรับมืออาชญากรรมคอมพิวเตอร์และระบบรักษาความมั่นคงต่อประเทศ ทั้งแบบระยะสั้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์บ้านเมืองหรือแผนระยะยาวเพื่อการ จัดการปัญหาทางอินเทอร์เน็ตที่ได้ผลจริง
ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, 7 พ.ค. 2553
ป้ายกำกับ:
กระทรวงไอซีที,
เซ็นเซอร์,
สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย,
อินเทอร์เน็ต,
ISOC
วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
กระบี๊ กระบี่
ไปเที่ยวกระบี่มา มีรูปมาฝากไปเที่ยวมา มีรูปมาฝาก
ยืนเฉยๆ
วิ้งๆ
network!
บทความ จังหวัดกระบี่ ในวิกิพีเดีย
“เปลว สีเงิน” กลับลำ ระบุหมดเวลาปรองดองกับ “แดงกบฎ-ผู้ก่อการร้าย” ชี้ถ้านายกฯ ยังนิ่งเฉยก็ควรพิจารณาตัวเอง
“ป๋าเปลว” กลับลำอัด “นายกฯ-กองทัพ” เละ ระบุให้เวลาแดงกบฎ-ผู้ก่อการร้าย ตามแผนปรองดองมาครบสัปดาห์แล้วแต่ก็ยังไม่เลิกชุมนุม ชี้ “อภิสิทธิ์” หยุดแผ่นเสียงตกร่อง ถึงเวลาใช้ “มาตรการหนัก” ถาม “ประวิตร-อนุพงษ์” ปล่อย เสธ.แดงป่วน เป็นการเล่นไพ่ 2 หน้า ประสานเกมคนมอนเตฯ หวังให้เกิดเหตุการณ์แทรกซ้อนเพื่อแบ่งสรรอำนาจใช่หรือไม่ ฟันฉับ 15 พ.ค. ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยน นายกฯ ก็ควรไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)